welcome

by www.zalim-code.com

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


วันพุธที่  21 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 3

        วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน สมาชิก คือ นางสาวณัฐวดี ขำสม , นางสาวพัชรินทร์ แก้วปุ๋ย และข้าเจ้านางสาวพัชรี คำพูล แล้วสรุปความหมาย ทฤษฎีการสอน ขอบข่ายหรือเนื้อหา และหลักการสอนของคณิตศาสตร์ของสมาชิกในกลุ่มได้ดังนี้

ความหมาย

        คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบนามธรรมโดยทั่วไป ซึ่งมีโครงสร้างที่แน่นอนและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน และมิได้หมายความเพียงตัวเลขเท่านั้นแต่ยังมีความหมายที่กว้างขวางดังต่อไปนี้

            1.คณิตศาสตร์มีภาษาเฉพาะตัวของมันที่กำหนดขึ้นด้วยสัญญลักษณ์ที่รัดกุม เป็นภาษาที่มีตัวอักษร ตัวเลขและสัญญลักษณ์แทนความคิด
            2.คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้างที่มีเหตุผล

อ้างอิงจาก        ยุพิน พิพิธกุล. การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์. 2524.


ทฤษฎีการสอน

        มีลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์คือ
            1.ขั้นเตรียมความพร้อม คือ เป็นการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนว่ามีพื้นฐานมากน้อยเพียงใด
            2.ขั้นการทำความเข้าใจ คือ เป็นขั้นนำผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ต้องการสอน
            3.ขั้นเปรียบเทียบความแตกต่าง คือ ผู้สอนชี้ให้เห็นความหมาย ความแตกต่างระหว่างแนวคิดได้ดีเพียงใดก็จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
            4.ขั้นฝึกทักษะ
            5.ขั้นทบทวนความรู้
            6.ขั้นนำไปใช้

อ้างอิงจาก        สุรชัย ขวัญเมือง. วิธีการสอนและการวัดผลวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา.

                                   เทพนิมิตรการพิมพ์ : 2522.


ขอบข่าย/เนื้อหาคณิตศาสตร์

        การจัดโครงสร้างเนื้อหาของคณิตศาสตร์แต่ละเนื้อหาจะจัดให้สัมพันธ์กับเนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แต่ละเนื้อหาเป็นเรื่องที่จะต้องใช้หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ในการจัดเนื้อหาในแต่ละลำดับชั้นต้องจัดให้สอดคล้องเหมาะสมกับวัย

อ้างอิงจาก        เรวัตร พรหมเพ็ญ. พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์สำหรับประถมศึกษา ภาคหลักสูตร                            

                                    และการสอนคณะวิชาครุศาสตร์สถาบันราชภัฏจันทรเกษม : 2537.


หลักการหรือแนวการสอน

        1.สอนโดอการอธิบายและแสดงเหตุผล
        2.สอนแบบสาธิต
        3.สอนโดยการถาม-ตอบ

อ้างอิงจาก        มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอน ชุดวิชา การสอนกลุ่มทักษะ 2          

                                      ( คณิตศาสตร์ ) : 2537.











สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม


แนวคิดและทฤษฎี

แนวคิดและทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       Piaget, Bruner และVygotsky(http://info.arc.dusit.ac.th/iknowledge/EducationShelf.nsp.2548)  บุคคลทั้งสามท่านนี้เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในด้านทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา แนวคิดของทั้งสามท่านมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาเป็นแนวทางพื้นฐานสำคัญของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนในวิธีการและกระบวนการสอนของครูรวมถึงการเรียนรู้ของเด็กทฤษฎีพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ ทฤษฎีการใช้ประสาทสัมผัสของPiagetโดยเน้นเรื่องการพัฒนาพลังทางสติปัญญาหรือความคิดของเด็กมากกว่าการมีทักษะทางหลักวิชาแบบจดจำเท่านั้น Piagetพบว่าปัจจัยสำคัญที่ช่วยพัฒนาสติปัญญาและความคิดของเด็กคือการที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เกิด ระดับสติปัญญาและความคิดเริ่มพัฒนาจากการได้ปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม                
                ปฏิสัมพันธ์หมายถึง กระบวนการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกและการจัดระบบความคิดซึ่งกระบวนการนี้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การปฏิสัมพันธ์และการปรับปรุงประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ กระบวน คือ
                                1. การดูดซึมเป็นกระบวนการที่อินทรีย์ได้ดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของอินทรีย์ว่าจะรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสได้มากน้อยเพียงใดด้วยเพราะเด็กวัยนี้ยังไม่พร้อมทั้งด้านร่างกายและความสามารถทางสติปัญญา
                                2. การปรับความแตกต่างให้เข้ากับความรู้และความเข้าใจเดิม เป็นกระบวนการที่ควบคู่ไปกับการดูดซึม แต่เป็นไปในลักษณะตรงกันข้ามเพราะมีการปรุงแต่งรวบรวมและจัดการความคิดรวมทั้งประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่อยู่รอบตัว
                จากทฤษฎีของPiaget พบว่า เด็กปฐมวัยจะใช้เหตุผลและอธิบายตามการหยั่งรู้ของตนเองมากกว่าใช้หลักแห่งเหตุผล ดังนั้นเด็กในวัยนี้จึงเข้าใจเรื่องตัวเลขและความสัมพันธ์ได้ช้าทั้งนี้เพราะเด็กยังไม่สามารถเข้าใจและมีมโนภาพเกี่ยวกับความหมายของตัวเลข จนกว่าเด็กจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทและความสัมพันธ์เสียก่อน
                Piaget เรียกความสามารถนี้ว่าความสามารถในการอนุรักษ์ ซึ่งหมายถึง ความเข้าใจเกี่ยวกับปริมาณหรือปริมาตรว่าจะยังคงที่แม้ว่าจะเปลี่ยนรูปทรงไปก็ตาม เด็กปฐมวัยสามารถเข้าใจคณิตศาสตร์ได้ถ้าหากครูจัดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับระดับความสามารถของเด็กดังที่กล่าวแล้วว่าเด็กปฐมวัยจะมีลักษณะเด่นคือยึดถือตัวเองเป็นสำคัญเด็กในวัยนี้โดยทั่วไปจะไม่สามารถเข้าใจถึงสถานการณ์หรือภาพที่มากกว่าหนึ่งมิติได้ เช่น จะเข้าใจเรื่องความกว้างหรือความยาวแต่เด็กจะไม่ค่อยเข้าใจถ้ามีความลึกด้วย อย่างไรก็ตามเด็กสามารถที่จะจำแนกสีได้และเข้าใจรูปทรงหลังจากจำแนกรูปทรงได้แล้ว ต่อจากนั้นเด็กก็จะมีความเข้าใจอย่างรวดเร็วแม้แต่ในเรื่องที่ยากๆ ที่เกี่ยวกับขนาด การจำแนกประเภท การเรียงลำดับและการทำตามตัวอย่างเด็กปฐมวัยจะรู้จักตัวเลข เช่น ท่องตัวเลขหรือเขียนก่อนที่จะสามารถเข้าใจความหมายได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นครูจะต้องระลึกไว้เสมอว่าการที่เด็กสามารถท่องตัวเลขได้มิได้แปลว่าเด็กจะสามารถเข้าใจตัวเลขหรือจำนวน ด้วยเหตุผลที่เด็กปฐมวัยยังมีพัฒนาการไม่พร้อมหลายๆ ด้าน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น