welcome

by www.zalim-code.com

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


วันพุธที่  21 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 3

        วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน สมาชิก คือ นางสาวณัฐวดี ขำสม , นางสาวพัชรินทร์ แก้วปุ๋ย และข้าเจ้านางสาวพัชรี คำพูล แล้วสรุปความหมาย ทฤษฎีการสอน ขอบข่ายหรือเนื้อหา และหลักการสอนของคณิตศาสตร์ของสมาชิกในกลุ่มได้ดังนี้

ความหมาย

        คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบนามธรรมโดยทั่วไป ซึ่งมีโครงสร้างที่แน่นอนและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน และมิได้หมายความเพียงตัวเลขเท่านั้นแต่ยังมีความหมายที่กว้างขวางดังต่อไปนี้

            1.คณิตศาสตร์มีภาษาเฉพาะตัวของมันที่กำหนดขึ้นด้วยสัญญลักษณ์ที่รัดกุม เป็นภาษาที่มีตัวอักษร ตัวเลขและสัญญลักษณ์แทนความคิด
            2.คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้างที่มีเหตุผล

อ้างอิงจาก        ยุพิน พิพิธกุล. การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์. 2524.


ทฤษฎีการสอน

        มีลำดับขั้นตอนการจัดกิจกรรมการสอนคณิตศาสตร์คือ
            1.ขั้นเตรียมความพร้อม คือ เป็นการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนว่ามีพื้นฐานมากน้อยเพียงใด
            2.ขั้นการทำความเข้าใจ คือ เป็นขั้นนำผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ต้องการสอน
            3.ขั้นเปรียบเทียบความแตกต่าง คือ ผู้สอนชี้ให้เห็นความหมาย ความแตกต่างระหว่างแนวคิดได้ดีเพียงใดก็จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
            4.ขั้นฝึกทักษะ
            5.ขั้นทบทวนความรู้
            6.ขั้นนำไปใช้

อ้างอิงจาก        สุรชัย ขวัญเมือง. วิธีการสอนและการวัดผลวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา.

                                   เทพนิมิตรการพิมพ์ : 2522.


ขอบข่าย/เนื้อหาคณิตศาสตร์

        การจัดโครงสร้างเนื้อหาของคณิตศาสตร์แต่ละเนื้อหาจะจัดให้สัมพันธ์กับเนื้อหาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร แต่ละเนื้อหาเป็นเรื่องที่จะต้องใช้หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ในการจัดเนื้อหาในแต่ละลำดับชั้นต้องจัดให้สอดคล้องเหมาะสมกับวัย

อ้างอิงจาก        เรวัตร พรหมเพ็ญ. พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์สำหรับประถมศึกษา ภาคหลักสูตร                            

                                    และการสอนคณะวิชาครุศาสตร์สถาบันราชภัฏจันทรเกษม : 2537.


หลักการหรือแนวการสอน

        1.สอนโดอการอธิบายและแสดงเหตุผล
        2.สอนแบบสาธิต
        3.สอนโดยการถาม-ตอบ

อ้างอิงจาก        มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอน ชุดวิชา การสอนกลุ่มทักษะ 2          

                                      ( คณิตศาสตร์ ) : 2537.











สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม


แนวคิดและทฤษฎี

แนวคิดและทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
       Piaget, Bruner และVygotsky(http://info.arc.dusit.ac.th/iknowledge/EducationShelf.nsp.2548)  บุคคลทั้งสามท่านนี้เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในด้านทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา แนวคิดของทั้งสามท่านมีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาเป็นแนวทางพื้นฐานสำคัญของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนในวิธีการและกระบวนการสอนของครูรวมถึงการเรียนรู้ของเด็กทฤษฎีพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ ทฤษฎีการใช้ประสาทสัมผัสของPiagetโดยเน้นเรื่องการพัฒนาพลังทางสติปัญญาหรือความคิดของเด็กมากกว่าการมีทักษะทางหลักวิชาแบบจดจำเท่านั้น Piagetพบว่าปัจจัยสำคัญที่ช่วยพัฒนาสติปัญญาและความคิดของเด็กคือการที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เกิด ระดับสติปัญญาและความคิดเริ่มพัฒนาจากการได้ปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม                
                ปฏิสัมพันธ์หมายถึง กระบวนการปรับตัวของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกและการจัดระบบความคิดซึ่งกระบวนการนี้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การปฏิสัมพันธ์และการปรับปรุงประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ กระบวน คือ
                                1. การดูดซึมเป็นกระบวนการที่อินทรีย์ได้ดูดซึมภาพต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของอินทรีย์ว่าจะรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสได้มากน้อยเพียงใดด้วยเพราะเด็กวัยนี้ยังไม่พร้อมทั้งด้านร่างกายและความสามารถทางสติปัญญา
                                2. การปรับความแตกต่างให้เข้ากับความรู้และความเข้าใจเดิม เป็นกระบวนการที่ควบคู่ไปกับการดูดซึม แต่เป็นไปในลักษณะตรงกันข้ามเพราะมีการปรุงแต่งรวบรวมและจัดการความคิดรวมทั้งประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่อยู่รอบตัว
                จากทฤษฎีของPiaget พบว่า เด็กปฐมวัยจะใช้เหตุผลและอธิบายตามการหยั่งรู้ของตนเองมากกว่าใช้หลักแห่งเหตุผล ดังนั้นเด็กในวัยนี้จึงเข้าใจเรื่องตัวเลขและความสัมพันธ์ได้ช้าทั้งนี้เพราะเด็กยังไม่สามารถเข้าใจและมีมโนภาพเกี่ยวกับความหมายของตัวเลข จนกว่าเด็กจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทและความสัมพันธ์เสียก่อน
                Piaget เรียกความสามารถนี้ว่าความสามารถในการอนุรักษ์ ซึ่งหมายถึง ความเข้าใจเกี่ยวกับปริมาณหรือปริมาตรว่าจะยังคงที่แม้ว่าจะเปลี่ยนรูปทรงไปก็ตาม เด็กปฐมวัยสามารถเข้าใจคณิตศาสตร์ได้ถ้าหากครูจัดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับระดับความสามารถของเด็กดังที่กล่าวแล้วว่าเด็กปฐมวัยจะมีลักษณะเด่นคือยึดถือตัวเองเป็นสำคัญเด็กในวัยนี้โดยทั่วไปจะไม่สามารถเข้าใจถึงสถานการณ์หรือภาพที่มากกว่าหนึ่งมิติได้ เช่น จะเข้าใจเรื่องความกว้างหรือความยาวแต่เด็กจะไม่ค่อยเข้าใจถ้ามีความลึกด้วย อย่างไรก็ตามเด็กสามารถที่จะจำแนกสีได้และเข้าใจรูปทรงหลังจากจำแนกรูปทรงได้แล้ว ต่อจากนั้นเด็กก็จะมีความเข้าใจอย่างรวดเร็วแม้แต่ในเรื่องที่ยากๆ ที่เกี่ยวกับขนาด การจำแนกประเภท การเรียงลำดับและการทำตามตัวอย่างเด็กปฐมวัยจะรู้จักตัวเลข เช่น ท่องตัวเลขหรือเขียนก่อนที่จะสามารถเข้าใจความหมายได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นครูจะต้องระลึกไว้เสมอว่าการที่เด็กสามารถท่องตัวเลขได้มิได้แปลว่าเด็กจะสามารถเข้าใจตัวเลขหรือจำนวน ด้วยเหตุผลที่เด็กปฐมวัยยังมีพัฒนาการไม่พร้อมหลายๆ ด้าน





วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


วันพุธที่  14 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 2

        อาจาร์ยให้วาดเป็นรูปอะไรก็ได้แทนสัญลักษณ์และเขียนชื่อจริงของตัวเองลงไป ข้าพเจ้าได้วาดเป็นรูปดอกทานตะวันที่บานยิ้มรับแสง


แล้วอาจาร์ยก็ให้คนที่เข้าเรียนก่อน 08.30 น. เอาภาพวาดไปติดเรียงกันบนกระดาน และอาจาร์ยก็เชื่อมโยงเข้าสู่การเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าภาพที่นักศึกษาแต่ละคนที่ติดอยู่บนกระดานสื่อถึงรูปร่าง รูปทรง การนับจำนวน การจัดหมวดหมู่ การจำแนก ขนาด
        คณิตศาสตร์มีฐานเลขสำคัญคือ ฐาน10 ซึ่งเลขฐาน10 เมื่อเด็กนับ 1-10 บ่อยๆครั้งหรือซ้ำๆทำให้เด็กเกิดความจำและเกิดประสบการณ์ อีกทั้งเลขฮินดูอาร์บิกเป็นเลขที่แทนค่าหรือจำนวน ส่วนการนับมี 2 ประเภท คือ 1. นับเพิ่มเป็นการบวก 2. นับลดเป็นการลบ 

งานที่อาจาร์ยมอบหมาย

1. ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ คนละ 5 เล่ม พร้อมทั้งเขียนชื่อผู้แต่ง/ปี พ.ศ./รหัสหนังสือ
2. เลือกหนังสือมา 1 เล่ม 
        - บุคคลที่ให้ความหมายของคณิตศาสตร์
        - ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
        - บรรณานุกรม
3. ขอบข่ายหรือเนื้อหาของคณิตศาสตร์
4. หลักการสอนคณิตศาสตร์

สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม


การอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยอนุบาล 1-2 การนับและตัวเลข

 ตัวเลขไทย   ตัวเลขอารบิค     ตัวเลขภาษาอังกฤษ
    ๑                    1                              One    
    ๒                    2                              Two
    ๓                    3                             Three
    ๔                    4                              Four
    ๕                    5                              Five
    ๖                    6.                              Six
    ๗                    7                             Seven
    ๘                    8                              eight
    ๙                    9                               nine
    ๑0                  10                               ten

สื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  การนับและตัวเลข
ชื่อเรื่อง  การนับและการจับใส่ตัวเลข
วัตถุประสงค์
 1. เพื่อให้เด็กรู้จักการนับจำนวนเลข 1-10  
 2. เพื่อให้เด็กได้รู้จัก1-10 ภาษาอังกฤษ
 3. เพื่อให้เด็กรู้จักวิธีการใส่ตัวเลข 1-10  ลงในแบบฝึกหัด 
อุปกรณ์
  1.ฟิวเจอร์บอร์ด  1 แผ่น   
  2.กระดาษสี     
  3.กระดาษ -ปากกาหมึก ดำ                   
  4.แลคซีน 
  5.กาว 
  6.กรรไกร
ขั้นตอนการทำ
1.นำกระดาษที่เขียน 1-10 ตัวเลขไทย มาติดลงบนฟิวเจอร์ บอร์ด 

2.ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมกวาง 14 ซม   ยาว 15  ซม

3.ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมกวาง 14 ซม   ยาว 15  ซม ทั้งหมด 20  รูปภาพ 

   เส้นพอตัดเสร็จ แล้วก็นำมาติดลงบนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด ติดตามแนวนอน

4.เสร็จแล้วก็ติดขอบด้วยแลคซีน 1-10 ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
   เส้น ห่างกัน 2 ซม.

การใช้สอนขั้นตอนการสอน 
1.กล่าวทักทายกับเด็กๆพร้อมสวัสดีตอนเช้าและบอกชื่อหน่วยที่จะสอน
     บอกวัตถุประสงค์ให้เด็กรู้    
2.เข้าสู่ขั้นนำ ให้เด็กปรบมือช้า-เร็ว 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 ครั้ง เตรียมความพร้อม 
     และร้องเพลง One-Two-Three-Four-Five-Six-Seven-eight- nine-ten 
     ทำท่าทางประกอบ  

3.พาเด็กนับตัวเลขจากรูปตัวเลขไทย จำนวน1จนถึง10เสร็จแล้วค่อยพา
     ทำท่าทางประกอบ  
    เด็กนับ เลขสัญลักษณ์1-10  ทั้งตัวเลขอารบิค ตัวเลขภาษาอังกฤษ One-ten
4.พาเด็กอ่านตัวเลขไทย   ตัวเลขอารบิค   ตัวเลขภาษาอังกฤษ ให้เด็กจำ
5.บอกกติกาการเล่นเกมให้กับเด็กรู้ก่อน 
6.ให้เด็กๆจัดเป็นกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม แล้วแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 8 คน
      พร้อมให้ เล่นเกมโดยจะแจกแบบฝึกหัดให้เด็กเขียนตัวเลขลงใน
      ช่อง  ...........ว่ามีกี่ตัวให้เขียนตัวเลขไทย  ตัวเลขอารบิค 
      ตัวเลขภาษาอังกฤษ กลุ่มละ  1  แผ่น
  ให้เด็กวิ่งออกมาเขียนอย่างเร็วไว้ตามกลุ่มที่ได้แบ่งไว้ 2 กลุ่ม
       กลุ่มใดทำช้าไม่เสร็จตามการจับเวลา ถือว่าแพ้ เสร็จ
ประโยชน์ที่ได้รับ
  1.เด็กได้รู้จักการนับจำนวนตัวเลข1-10ทั้งเลขอารบิคและตัวเลขไทย
    ตัวเลขอังกฤษที่ถูกต้อง 
  2.เด็กได้รู้จักการเล่นเป็นกลุ่ม ได้รับความสนุกสนาน
      
การฝึกให้เด็กเขียนตัวเลขลงในช่อง  ...........ว่ามีกี่ตัว
     
ตัวเลขไทย      วัว    ......๑..... ตัว
ตัวเลขอารบิค    วัว   .......1...... ตัว
ตัวอังกฤษ       วัว …..One .......  ตัว



ตัวเลขไทย    หนู   .......๒ .....ตัว
ตัวเลขอารบิค   หนู  .....2 .....ตัว
ตัวอังกฤษ    หนู  ……Two .... ตัว

           
ตัวเลขไทย    หมี ......  ๓  ..... ตัว
ตัวเลขอารบิค    หมี ...... 3.....ตัว
ตัวอังกฤษ    หมี  …..Three ….ตัว

 
ตัวเลขไทย    แพะ ......  ๔  ..... ตัว
ตัวเลขอารบิค    แพะ ...... 4.....ตัว
ตัวอังกฤษ     แพะ …..Four ….ตัว


           
ตัวเลขไทย   เสือ......  ๕  ..... ตัว
ตัวเลขอารบิค   เสือ ...... 5.....ตัว
ตัวอังกฤษ    เสือ …..Five ….ตัว

ตัวเลขไทย    ไก่......  ๖  ..... ตัว
ตัวเลขอารบิค   ไก่ ...... 6.....ตัว
ตัวอังกฤษ      ไก่ …..Six ….ตัว

                     
ตัวเลขไทย   กระต่าย......  ๗  ..... ตัว
ตัวเลขอารบิค   กระต่าย...... 7.....ตัว
ตัวอังกฤษ   กระต่าย…..Seven….ตัว

ตัวเลขไทย   แมว.....  ๘  ..... ตัว
ตัวเลขอารบิค   แมว...... 8.....ตัว
ตัวอังกฤษ   แมว…eight….ตัว

                       
ตัวเลขไทย    เป็ด.....  ๙  ..... ตัว
ตัวเลขอารบิค    เป็ด...... 9.....ตัว
ตัวอังกฤษ    เป็ด…nine….ตัว

               
ตัวเลขไทย    สุนัข....  ๑0  ..... ตัว
ตัวเลขอารบิค   สุนัข...... 10.....ตัว
ตัวอังกฤษ    สุนัข…ten….ตัว