วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED 2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood
เวลาเรียน 8.30 - 12. 20 น
ครั้งที่ 4
อาจารย์ได้นำขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ของ อ.นิตยา ประพฤติกิจ และ อ.เยาวพา เดชะคุปต์ มาเปรียบเทียบว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ดังต่อไปนี้
( นิตยา ประพฤติกิจ.2541:17-19)
1.การนับ (Counting)
2.ตัวเลข (Number) คือ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่แทนค่าจำนวนและลำดับ
3.การจับคู่ (Matching)
4.การจัดประเภท (Classification) คือ การสร้างเกณฑ์หรือการกำหนดเกณฑ์กับเด็กปฐมวัย
5.การเปรียบเทียบ (Comparing)
6.การจัดลำดับ (Ordering)
7.รูปและเนื้อที่ (Shape and Space) คือ ของใช้ที่มีมิติและพื้นที่ เช่น แก้ว
8.การวัด (Measurement) คือ ค่าปริมาณและจำนวน
9.เซต (Set) คือ ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างใดอย่างหนึ่ง
10.เศษส่วน (Fraction) คือ การแบ่งขนมปังออกเป็นส่วนหรือแบ่งครึ่งให้เท่าๆกัน หรือหนึ่งในของส่วนทั้งหมด
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) คือ รูปทรง การเขียนตัวเลข หรือเส้น
12.การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) คือ เด็กได้ใช้เหตุผลในการเปรียบเทียบ เด็กสามารถตอบด้วยตาเห็นเพราะเด็กยังไม่สามารถใช้เหตุผลได้มากสักเท่าไหร่
(อ.เยาวพา เดชะคุปต์.2542:87-88)
1.การจัดกลุ่มหรือเซต คือ การจับคู่ 1:1 และการจับคู่สิ่งของรวมกัน
2.จำนวน 1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3.ระบบจำนวน (Number System)
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต>>การบวกหรือการลบ
5.คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จาการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6.ลำดับที่ ความสำคัญและประโยชน์คณิตศาสตร์
7.การวัด
8.รูปทรงเลขาคณิต
9.สถิติและกราฟ คือ การนำเสนองาน
งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น