welcome

by www.zalim-code.com

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


วันพุธที่  20  กุมภาพันธ์ 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


สรุปวิจัย

วันพุธที่  20  กุมภาพันธ์ 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 16

          คณิตศาสตร์มี 6 สาระ

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
          - เข้าใจถึงความหลากหลายและการใช้งานในชีวิตประจำวัน

สาระที่ 2 การวัด
          - เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา

สาระที่ 3 เรขาคณิต
          - รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
          - รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

สาระที่ 4 พีชคณิต
          - เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
          - รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ

สาระทีุ่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์







กลุ่มเพื่อนสอน

1.  หน่วยไข่และการทำอาหาร


2. หน่วยไข่จ๋า


3. หน่วยน้ำ



และอาจารย์ได้นัดหมายการสอบปลายภาค ให้นักศึกษามาสอบนอกตาราง แต่เอาวัน-เวลา เหมือนสอบในตาราง แล้วให้นักศึกษามาเจอกันที่ใต้ตึกคณะ



วันพุธที่  13  กุมภาพันธ์ 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 15

                      กลุ่มเพื่อนสอบสอน เรื่องสัตว์น่ารัก 

                     สมาชิกกลุ่มคือ น.ส. วรรณพร จินดาพรหม   น.ส. ชฏารัตน์ ยาเขียว   น.ส. ณัฐพร ดอนโสม




อาจารย์แนะนำการสอน ว่า ครั้งนี้เราขาดอะไรไปบ้าง มีส่วนไหนที่ต้องแก้ไข คือ

         - บางหน่วยการเรียนรู้ในหัวข้อ ของเรายังไม่ตรงกัน หน่วยของประเภท มีความสอดคล้องกับ ชนิดและลักษณะ จึงทำให้หน่อย ไม่ค่อยมีความใกล้เคียงกับชื่อหน่วย ต้องไปปรับแก้

         - ในเรื่องประโยชน์และโทษ ของสัตว์ บางครั้งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสาระหรืมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ เราสามารถปรับโดยการใช้นิทานมาแทนในการสอน

         - โฟมที่นำมาใช้สอน เราใชไม้ไอติมในการทำสื่อตัวสัตว์ ซึ่งต้องปรับไม้ไอติม ไม่ามารถปักลงบนกระดานโฟมได้ ควรเปลี่ยนเป็นไม้เสียบลูกชิ้น

         - การสอนควรเริ่มจากการขยายวงกว้างๆ ในเรื่องป่า แล้วเริ่มแคบลงมาโดยการหยิบยกตัวอย่าง เช่นสัตว์ที่เรานำมา หรือสัตว์ที่เรามี

         - การจัดระบบความคิดของเด็ก  การบ่งสัตว์ ตามประเภท ชนิด ลักษณะ ตามถินที่อยู่อาศัย


อาจารย์ยกตัวอย่างรูปแบบการสอน




วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


วันพุธที่  6  กุมภาพันธ์ 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 14

       อาจารย์ทบทวนกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม คือ

            - กิจกรรมเสริมประสบการณ์
            - กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
            - กิจกรรมเกมการศึกษา
            - กิจกรรมเสรี
            - กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
            - กิจกรรมกลางแจ้ง

       การจัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก โดยปกติจะมี

           - เข้าแถว
           - เคลื่อนไหว
           - ดื่มนม
           - ศิลปะ
           - เสริมประสบการณ์
           - กลางแจ้ง
           - ทานข้าว
           - นอน
           - เกมการศึกษา

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ที่ไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่น




วันพุธที่  30  มกราคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 13

การระดมความคิดของปฐมวัย

   - นิทานเวที
  - นิทรรศการสื่อ
  - เล่นดนตรี
  - ร้องเพลง
  - เล่านิทาน
  - เล่นเกม
  - รำ
  - งานศิลปะ
  - เต้น


   1. การสอนเด็กต้องสอนเรื่องใกล้ตัวเด็ก
   2. ประสบการณ์  คือ ต้องลงมือกระทำ เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้
   3. การนับหรือการเรียง  ต้องเรียงจากซ้ายไปขวา เพื่อที่จะให้เด็กมีประสบการณ์เป็นพื้นฐานในการจำ
   4. การวางตัวเลขจะวางไว้หน้าคำหรือหลังคำก็ได้แต่ต้องอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับคำนั้นๆ
   5. การแยก     เป็นพื้นฐานของการลบ
   6. การรวม     เป็นพื้นฐานของการบวก
   7. ภาษา/คณิตศาสตร์    เป็นเครื่องมือที่พัฒนาการเรียนรู้ของมนุษย์
   8. ถ้าเด็กยังไม่มีการลงมือกระทำ  แสดงว่า จะเป็นแค่เพียงการรับรู้เท่านั้น


         ร้องเพลง
         เล่านิทาน     =    3  อย่านี้สามารถใช้ร่วมกันในการเล่านิทานได้
         เต้น
 
 โอกาสที่เด็กจะทำได้มีสูงเพราะเด็กสามารถทำเป็นประจำได้ การลงมือกระทำจะประสบความสำเร็จดีมาก  
 
   9. เครื่องมือที่การวัดที่เป็นทางการ  ไม่ควรนำม่ใช้กับเด็ก  เช่น  ไม้บรรทัด
   10. ควรใช้เครื่องมือที่ไม่เป็นทางการ  เช่น  คืบ  ฝ่ามือ     
        - สาระที่ 2 การวัด  มาตรฐาน  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดและความยาว
        - สาระที่ 3 เลขาคณิต   มาตรฐาน  รู้จักตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปทรง 
        - สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น   มาตรฐาน  การนำเสนอข้อมูล / การรวบรวมข้อมูล

สิ่่งที่เด็กต้องรู้
  สิ่งของบางอย่างต่างกัน  สิ่งของบางอย่างเหมือนกัน เด็กจึงต้องดูและแยกแยะให้ได้ว่าต่างและเหมือนกันอย่างไร

วันพุธที่  23  มกราคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 12

กิจกรรมการเรียนการสอน

       
     - อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับ"หน่วยการเรียนรู้"
             - หน่วยการเรียนรู้ที่นำมาจะต้องแตกออกเป็น Mind mapping  จะต้องมีเนื้อหาสาระ
             - การที่เด็กได้ลงมือกระทำ คือประสบการณ์การเรียนรู้

             - ให้แบ่งกันในกลุ่มว่าใครจะอยู่วันไหนอย่างไรให้ชัดเจนแล้วเขียนแผนออกมาใส่กระดาษ A4 

หน่วยการเรียนรู้เรื่อง  ผลไม้
สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
กิจกรรม










วันพุธที่  16  มกราคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 11

     ** หมายเหตู **

                     วันนี้เป็นวันครูแห่งชาติ   อาจารย์ให้เข้าร่วมกิจกรรมฟังธรรมในห้องประชุมศูนย์ครู ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์


      







วันพุธที่  9  มกราคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 10

เนื้อหาสาระ

          - จำนวน  =  วันนี้นักเรียนมากี่คน /ได้เงินมากี่บาท/จำนวนอาคารในโรงเรียน/ราคาข้าวในโรงอาหาร
               - การแทนด้วยตัวเลข = เขียน/นำสัญลักษณ์มาวาง

**การสร้างสื่อการสอน   อย่าสร้างให้ยึดติดกับผนัง  ต้องคำนึงถึงประโยชน์ในการใช้



วันพุธที่  2  มกราคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 9

                        วันนี้เป็นวันเปิดเรียนวันแรกของปี 2556 อาจารย์ให้ส่งงานที่สั่งให้ไปทำงานคู่ ซึ่งดิฉันคู่กับ
นางสาว นฤมล  มลิวัลย์   และได้ทำ เกม 


วันพุธที่  26  ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 8

          *** หมายเหตุ
                   
                     ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นการสอบกลางภาค




วันพุธที่  19  ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 7


          - อาจารย์ให้ส่งวงกลม




        -อาจารย์บอกว่าถ้าจะใช้อย่างอื่นนอกจากกระดาษลัง  แล้วสามารถใช้ประโยชน์แทนกันได้  ถือว่านักศึกษามาความคิดสร้างสรรร
        - การใช้กระดาษสีมาติดบนกล่องกระดาษ  ทำให้รูปทรงมีมิติมากยิ่งขึ้น

เนื้อหาสาระ

           - มาตราฐานนึกถึง คุณภาพ ตัวชี้วัด ตัววัดผล สถานศึกษา การสอบ สินค้า ผลิตภัณฑ์  
          - ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในการสื่อสาร
          - คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในการคำนาณและการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
          - กรอบนึกถึงจำกัด ขอบเขต กฎเกณฑ์
           ศัตรูของความคิดสร้างสรรค์ คือการขาดความเชื่อมั่น
           ปัจจัยการขาดความเชื่อมั่น คือ ตัวครูไม่รู้จักรอคอย ไม่ให้เวลาเด็ก ครูต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
การใช้เหตุผล    พัฒนาการ    การอนุรักษ์    จำนวน    ค่า-ปริมาณ    ตัวเลข    สัญลักษณ์    รูปภาพ    ของจริง             รูปธรรม        กึ่งธรรม          นามธรรม
ของจริง รูปภาพ สัณลักษณ์ เป็นส่วนขยาย
รูปธรรม กึ่งธรรม นามธรรม    เป็นส่วนขยาย
การนับสิ่งของ
การเพิ่มคือ บวก  การลดคือ ลบ
คณิตศาสตร์  จับคู่ ขนาด รูปทรง
                      วงกลม ไม่มีมุม ไม่มีเหลี่ยม เป็นพื้นที่ปิด
                       พื้นที่    ไม่มีส่วนเกิน
                       ปริมาณ  ไม่มีส่วนเหลือ
กรอบมาตราฐาน โดย สสวท.
มาตราฐานที่ 1 จำนวนและดำเนินการ
                         เป็นความหลากหลายรู้ถึงค่าและดำเนินการและการแสดงจำนวน โดย เขียน พูด และบัตรตัวเลขแทนค่า
มาตราฐานที่ 2 การวัด
                         การใช้เครื่องมือเพือ่หาค่าหรือปริมาณ ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง เงิน เวลา(นาฬิกา) ปริมาณ
มาตราฐานที่ 3 เรขาคณิต
                         ตำแหน่งทิศทางและระยะทาง   ตำแหน่ง = หน้า หลัง นอก ใน    ทิศทาง = ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก     ระยะทาง = ใกล้ ไกล   และต้องรวมรูปทรงเลขาคณิตด้วย
มาตราฐานที่ 4 พีชคณิต
                         การเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์  แบบรูปคือ แบบที่เขากำหนดแล้วให้เราทำตามแบบ
มาตราฐานที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                         การรวบรวมข้อมูลต่างๆที่จะคำนาณ

งานที่รับมอบหมาย

        หารูปที่่มีรูปทรงกลม  แล้ววาดลงกระดาษแข็ง ขนาดเท่ากับA4 เพื่อประดิษฐ์เป็นสื่อ

วันพุธที่  12  ธันวาคม 2555
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับหรับเด็กปฐมวัย
EAED  2204 Mathematic Experiences Management for Early Childhood  
เวลาเรียน  8.30 - 12. 20 น


ครั้งที่ 6

 อาจารย์ให้เขียนขอบข่ายในการสอนคณิตศาสตร์เป็นคู่ ใช้สื่ออะไรก็ได้
คู่ดิฉันคือ น.ส. บงกช  รัศมีธนาวงค์  ซึ่งได้เขียนขอบข่ายเรื่อง อุปกรณ์เครื่องเขียน คือ
  1. การนับ   =    นำอุปกรณ์มารวมกัน แล้วให้เด็กนับ 1-10 หรือมากกว่านั้น
  2. ตัวเลข   =  ให้เด็กบอกจำนวนที่นับได้แก่ครู แล้วให้ครูเขียนสัญลักษณ์แทนค่า
  3. การจับคู่   =  ให้เด็กจับคู่อุปกรณ์ที่เป็นประเภทเดียวกัน
  4. การจัดประเภท    =   ให้เด็กจัดอุปกรณ์ที่มีสีเดียวกัน
  5. การเปรียบเทียบ  =   ให้เด็กเปรียบเทียบปากกากับดินสอ ว่าอันไหนสั้นอันไหนยาว
  6. การจัดลำดับ       =   ให้เด็กแบ่งอุปกรณืเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งมี สมุด ปากกาแดง ปากกาน้ำเงิน ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด อย่างละ 1 ชิ้น
  7. รูปทรงและเนื้อที่  =   ให้เด็กหยิบของมา 8 ชิ้น แล้วให้เด็กสร้างเป็นอะไรก็ได้ตามจินตนาการของเด็ก
  8. การวัด   =     ให้เด็กลงมือวัดดินสอ 2 แท่ง ว่าแท่งไหนยาว แท่งไหนสั้น
  9. เซต       =      ครูถามเด็กว่าอุปกรณ์ทั้งหมดเป็นเซตอะไร
  10. เศษส่วน   =   ให้เด็กแบ่งอุปกรณ์ทั้งหมด ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ชิ้น
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย     =    ครูนำอุปกรณ์มา 4 ชิ้นแล้วให้เด็กดู แล้วเอาอุปกรณ์ออก 1 ชิ้น จึงถามเด็กว่าอะไรหายไป
  12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ =  ครูถามเด็กว่าไม้บรรทัดกับกบเหลาดินสอมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่

         - อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานที่ให้เขียนขอบข่ายในการสอนคณิตศาสตร์ แล้วถามทีละกลุ่ม สุ่มหัวข้อถาม

         - อาจารย์ให้หยิบกล่องคนละ 1 กล่อง แล้วจับคู่ช่วยกันคิดว่ากล่องสามารถสอนคณิตศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง

         - แล้วให้จับกลุ่ม 5 กลุ่ม 10 คน เอากล่องแต่ละคนมาประกอบเป็นรูปร่าง



     - รูปของเพื่อนทั้ง 5 กลุ่ม




     - แล้วจึงนำของเพื่อนทั้ง 5 กลุ่ม มาทำเป็นนิทรรศการ มีบ้านของหุ่นยนต์ 3 หลัง มีบ้านช้าง 1 หลัง มีสถานีรถไฟ รถไฟ และมีประตู 2 ประตู ทางเข้า-ออก




งานที่เตรียมในอาทิตย์ถัดไป

     - อาจารย์สั่ง การบ้าน คือ ให้ตัดกระดาษจากกระดาษกล่องเป็นวงกลม ที่มีจุดผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว    1.5 นิ้ว และ 2 นิ้ว อย่างละ 3 สี มีสีเหลือง สีเขียวเข้มและสีชมพู รวมเป็น 9 ชิ้น